Stop Loss คืออะไร เข้าใจง่าย ๆ ใน 5 นาที

Stop Loss คืออะไร

อะไรคือ Stop Loss เทรดเดอร์ทุกคนมักจะบอกว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีสิ่งนี้ พอร์ตหรือเงินลงทุนทั้งหมดของเทรดเดอร์ กำลังจะตกอยู่ในความไม่แน่นอน เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ล้มเหลวในการเทรด ไม่ใช่เพียงเพราะไม่เก่ง ระบบไม่ดี แต่เป็นเพราะไม่มีวิธีจัดการกับความล้มเหลวที่ดีนั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจะต้องมาทำความรู้จักกับ Stop Loss

Stop Loss คือ จุด ตัด คัท ความล้มเหลว

SL หรือ Stop Loss คือ สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้พอร์ตของเทรดเดอร์ ไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ลำบากใจ เพราะเป็นจุดตัดขาดทุนที่วางไว้ ตามความเสี่ยงที่รับได้ เช่น ถ้าโดนกราฟลากเนื่องจากผิดทาง ก็จะมีความเสียหายที่เกิดขึ้นก็เพียงน้อยนิดหรือเท่าที่รับได้ ไม่ต้องแลกด้วยเงินทุนทั้งหมด จึงทำให้มีโอกาสกลับมาแก้ตัวใหม่เสมอ แม้ครั้งนี้วิเคราะห์ผิดพลาด

เทรดเดอร์คนหนึ่ง เข้าเทรดโดยที่ไม่ได้เปิด Stop Loss เอาไว้ จากนั้นมีธุระด่วนเข้ามาจึงไม่ได้เฝ้ากราฟ เพราะมีเหตุจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องไปทำ เมื่อเสร็จธุระกลับมาดูอีกครั้งจึงพบว่า เงินทุนทั้งหมดในพอร์ตของเทรดเดอร์ หายไปเป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว มีข่าวนอกตารางเกิดขึ้น จึงส่งผลให้กราฟมีความผันผวนอย่างหนัก จึงนำมาซึ่งความเสียหายต่อพอร์ตของเทรดเดอร์เอง

จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้ การตั้ง Stop Lossคือ การตัดขาดทุนในจุดที่ได้วางแผนไว้ หรือจุดที่คิดว่ากราฟถ้าวิ่งผิดทางแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะกลับมาทิศทางเดิมอีกต่อไป ดังนั้นการที่จะยอมตัดขาดทุน ในจุดที่คิดว่าไม่มีทางกลับมา หรือกราฟเปลี่ยนทิศทางไปแล้ว จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่สุด

ถ้าเทรดโดยไม่ตั้ง Stop Lossคือ สิ่งที่อันตรายมากที่สุด และถ้าถามว่าทำได้ไหม จริง ๆ ก็สามารถทำได้ แต่เทรดเดอร์จะต้องมีเวลามากพอในการเฝ้าหน้าจอ เพราะถ้าหากว่าจะเปิดออเดอร์โดยที่ไม่มี Stop Loss และไม่มีวินัยที่เข้มข้นพอที่จะทำตามแผนการเทรด นับว่าเป็นหนทางสู่หายนะอย่างแน่นอน

เพราะตลาดสามารถสร้างเซอร์ไพรส์ หรือสิ่งที่ไม่คาดหวังให้ได้เสมอ ดังนั้น ถ้าเทรดเดอร์เทรดโดยไม่มี Stop Loss จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนั่งเฝ้าหน้าจอ เพื่อรอแก้ออเดอร์เมื่อผิดทาง หรือหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับพอร์ตมากจนเกินไป แต่ถ้าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ วินัยไม่มากพอ ก็จงตั้ง Stop Loss

เพราะ Stop Loss คือ สิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากที่สุด ถ้าหากว่าเทรดเดอร์ไม่ต้องการให้พอร์ตเสียหายเมื่อผิดทาง แนะนำว่าควรหาจุดที่คิดว่า ถ้ากราฟผิดทางแล้วไม่อาจจะย้อนกลับมาได้อีก แล้วเอาจุดนั้นไว้เป็นจุดที่คิดว่าจะตัดขาดทุน ภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อเป็นการรักษาทุนในพอร์ต และมีทุนเพื่อที่จะกลับมาแก้ตัวได้

Stop Loss คือ จุด ตัด คัท ความล้มเหลว

บ่อยครั้งที่เทรดเดอร์ตั้ง Stop Loss เอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไปจึงเปิดมาดูกราฟ ผลก็คือออเดอร์ที่เปิดทิ้งไว้หายไป เพราะราคาวิ่งชน Stop Loss นั่นเอง ลองคิดเล่น ๆ ดูว่าถ้าเทรดเดอร์ไม่ได้ทำการเปิด Stop Loss พอร์ตอาจจะระเบิดไปแล้วก็ได้ แต่ก็ไม่ควรตั้งใกล้จนเกินไป เพราะกลัวว่าถ้าผิดทางแล้วจะเสียเงินเยอะ

วิธีตั้ง SL หรือ Stop Loss สามารถเปิดได้หลายรูปแบบ ในรูปแบบแรกนั่นก็คือ การตั้งพร้อมกับ Pending Order หรือคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า หรืออีกรูปแบบหนึ่งก็คือ เปิดออเดอร์แล้วทำการตั้งทีหลัง สามารถเลือกใช้แบบไหนก็ได้ แต่ควรใช้ให้อยู่ภายในแผนการเทรด

ถ้าไม่อยู่ในแผนการเทรด หรือไม่ทำตามแผน จะเกิดเหตุการณ์ที่ว่า เทรดเดอร์กลัวการขาดทุนจึงทำการเลื่อน Stop Loss ให้ห่างจากราคาปัจจุบัน โดยหวังว่ากราฟจะกลับไปตามที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นการใช้ Stop Loss ที่ดีที่สุด ก็ควรจะเกิดจากการที่วางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนเทรด

Stop Loss คือสิ่งที่ช่วยให้พอร์ตของเทรดเดอร์ปลอดภัย ไม่ว่าจะเทรดรูปแบบใด สั้น กลาง หรือยาว ก็สามารถใช้ได้เสมอ ดังนั้นควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ ตั้งไว้ใกล้มากเพราะกลัวขาดทุนเยอะ ก็เสี่ยงที่กราฟจะวิ่งมาโดนและก็กลับไปทิศทางเดิม ตั้งไว้กว้างเกินไปก็กลัวว่าผิดทางแล้วจะขาดทุนมากเกินความจำเป็น

ดังนั้นแนวคิดการตั้ง Stop Loss ที่เทรดเดอร์มืออาชีพเลือกใช้คือ ตั้งให้อยู่ในจุดที่กราฟไปถึงแล้ว จะไม่มีทางกลับมายังทิศทางเดิม และมีการจัดการความเสี่ยงเท่าที่รับได้ จึงจะเป็นจุดที่มีความเหมาะสมมากที่สุด และการที่จะไม่ตั้งเลย เมื่อผิดทางอาจจะใช้กลยุทธ์อื่น ๆ เช่น Hedging เพื่อแก้ไม้ ก็จะต้องมีวินัยพอสมควร เพราะวิธีนี้ไม่ง่ายเลยสำหรับมือใหม่

จะเห็นได้ว่าการตั้ง Stop Loss คือกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ป้องกันพอร์ต เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเกินกว่าที่จะรับได้ เหมาะกับเทรดเดอร์ทุกระดับ ดังนั้นควรวางแผนให้ดีก่อนเทรดทุกครั้งว่า ถ้าผิดทางจะจัดการความเสี่ยงนี้ยังไง แล้วทำตามแผนที่วางไว้ เชื่อว่าถ้าทำตามนี้จะไม่มีวันล้างพอร์ตอย่างแน่นอน

By Toto Editor

บทความที่เกี่ยวข้อง