โบรกเกอร์(Broker) คืออะไร ?

โบรกเกอร์(Broker) คืออะไรและมีหน้าที่อะไร ?

โบรกเกอร์(Broker)ในตลาด Forex นั้นจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อรับส่งคำสั่งซื้อ-ขายจากเทรดเดอร์เพื่อส่งไปยังตลาดกลาง แล้วเกิดการเทรดนั้นเองครับ..

ซึ่งเทรดเดอร์รายย่อย(คนทั่วไป)ไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อ-ขายไปยังตลาดกลางได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นโบรกเกอร์จึงมีหน้าที่รวบรวมคำสั่งซื้อขายเหล่านี้จากเทรดเดอร์แล้วส่งไปทำการเทรดครับ..

แสดงว่าทุกคำสั่งซื้อ-ขายจากเทรดเดอร์ที่เป็นกำไรหรือขาดทุน จะไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของโบรกเกอร์(Broker) โบรกเกอร์(Broker)จะไม่มีส่วนได้และส่วนเสียกับส่วนนี้..

โบรกเกอร์จะมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียม และทุกวันนี้มีเปิดให้บริการจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งที่ดีและไม่ดี ก่อนการตัดสินใจเลือกลงทะเบียนเพื่อเทรดก็ต้องทำการตรวจความน่าเชื่อถือและเครดิตของโบรกเกอร์นั้นๆก่อนนะครับ..

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การซื้อ-ขายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศหรือตลาด Forex นั้นจะต้องซื้อ-ขายผ่านโบรกเกอร์(Broker)เท่านั้น แต่โบรกเกอร์(Broker)ทั้งหมดในตลาด Forex จะเป็นโบรกเกอร์(Broker)จากต่างประเทศ เพราะเนื่องจากว่าในปัจจุบันตลาด Forex ยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการในประเทศไทยจึงทำให้โบรกเกอร์(Broker)ในตลาด Forex ยังไม่สามารถก่อตั้งเป็นบริษัทภายในประเทศไทยได้..

โบรกเกอร์(Broker) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่..

  • Dealing Desk(DD) หรือ Market Maker
    โบรกเกอร์(Broker)ประเภทนี้ได้ส่งคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์และไปยังตลาดกลาง Forex ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ โบรกเกอร์(Broker)ประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นเจ้ามือเอง โดยที่ทุกๆคำสั่งซื้อ-ขายที่เทรดเดอร์ส่งไปก็จะเข้าไปอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อมีการซื้อ-ขาย เกิดขึ้น โบรกเกอร์(Broker)ก็จะมีหน้าที่ทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เทรดเดอร์ เช่น ถ้าเรา buy โบรกเกอร์นั้นก็จะจับคู่กับผู้ที่เข้าออเดอร์ Sell ต่อมาเมื่อออร์เดอร์ Buy เป็นกำไรโบรกเกอร์ก็จะเอาเงินของออร์เดอร์ Sell มาให้เรา หรือในอีกกรณีโบรกเกอร์นั้นจะจับคู่เรากับเจ้าตัวโบรกเกอร์เองเลยหรือเรียกว่ามีเจ้ามือ นั่นเอง เป็นต้น และราคาที่เราเห็นในโบรกเกอร์ ประเภทนี้จะเป็นราคาที่โบรกเกอร์จะเป็นตัวกำหนดขึ้นมาเอง กราฟราคาที่เห็นนั้นเป็นราคาปลอมไม่ตรงกับราคาในตลาดกลาง จึงเป็นราคาที่โบรกเกอร์สร้างขึ้นเอง แต่ส่วนมากโบรกเกอร์ประเภทนี้จะอ้างอิงมาจากตลาดจริงและจะไม่สร้างกราฟให้ดูปลอมจนเกินไปจนเทรดเดอร์สามารถจับได้ รายได้ของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมาจากสเปรด(Spreads) ลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสเปรดคงที่ กราฟราคาจะแกว่งแรงจนน่าตกใจและค่าบริการต่างๆจะค่อนข้างถูกและยั่วใจนักเก็งกำไรอย่างมาก..
  • Non Dealing Desk (NDD)
    โบรกเกอร์ประเภทนี้จะส่งคำสั่งซื้อขาย จากเทรดเดอร์เข้าสู่ตลาดกลางForex โดยตรงโบรกเกอร์ประเภทนี้จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนนายหน้าพ่อค้าคนกลาง คือรับคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์แล้วส่งไปยังตลาดกลาง Forex โดยจะไม่เก็บออร์เดอร์ไว้กับตัวเอง ราคากราฟที่แสดงนั้นจะเป็นราคาของตลาดกลางเลย ลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสเปรดที่ไม่คงที่และอาจจะมีค่าคอมมิชชั่น ค่าบริการอื่นๆ สูงกว่าแบบ Dealing Desk (DD) ที่สร้างกราฟขึ้นมาเอง…

แล้วควรจะเลือกเทรดโบรกเกอร์(Broker) ประเภทไหน?

โบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เทรดเดอร์ควรเลือกประเภทของโบรกเกอร์ให้ตรงต้องการของตัวเองมากที่สุด แต่อย่างไรก็ควรดูราละเอียด เงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละบริษัทให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะความนำเชื่อถือ เพราะถ้เลือกโบรกเกอร์ที่ดีเงินลงทุนของคุณก็ปลอดภัย ในปัจจุบันโบรกเกอร์การแข่งขันกันสูงมาก แต่ละโบรกเกอร์พยายามสร้างโปรโมชั่นออกมาอย่างมากมาย ทำให้เกิดการแข่งขันทางราคาสูง มีการลดค่าคอมมิชชั่น ลดค่าสเปรด(Spread)จึงทำให้โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) มีค่าบริการที่ถูกไม่ต่างจาก โบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk(DD) เลย ทำให้โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk(NDD) น่าเทรดกว่าเพราะเป็นการเทรดจากตลาดโดยตรงนั่นเองครับ..

Credit : Speed Up Forex

By Jittapat ทีมงาน Speedup Forex

บทความที่เกี่ยวข้อง