ทำไมเทรดเดอร์ Forex จึงต้องดูกราฟ S&P 500 รู้หรือไม่ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เทรดเดอร์เปิดออเดอร์แล้วกราฟไม่วิ่ง หรือเปิดแล้วกลับวิ่งสวนทางอย่างรุนแรง ความจริงแล้วอาจจะเป็นเพราะการอ่อนหรือแข็งค่าของค่าเงิน ที่ต้องเข้าใจให้มากกว่าแค่กราฟขึ้นหรือลง แล้วปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนหรือแข็ง ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ S&P 500 กันก่อนเลย
S&P 500 คืออะไร ทำไมเทรดเดอร์ ต้องรู้
S&P500 คือ ดัชนีตลาดหุ้นที่แสดงถึงผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ 500 แห่ง ของสหรัฐอเมริกา โดยเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2500 โดยใช้ตัวย่อ S&P ซึ่งมาจาก Standard and Poor เป็นชื่อของบริษัทผู้ก่อตั้ง เพื่อมาเป็นชื่อของดัชนี้เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจได้ง่ายถึงความเป็นมา
S&P500 คือ ดัชนีที่ใช้ชี้วัดเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นอย่างดี เพราะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไร เพราะเป็นดัชนีของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ 500 บริษัทรวมกัน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันมีผลประกอบการเป็นไปยังทิศทางใด เศรษฐกิจดีขึ้นหรือกำลังแย่ลง อยู่ในช่วงขยายตัวหรือกำลังถดถอย ก็จะสามารถรู้ได้ด้วยผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้
และแน่นอนว่า S&P 500 มีความเกี่ยวข้องกับตลาด Forex แน่นอน คือสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ถ้าดัชนี S&P 500 กำลังขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจดี ผู้คนมีกำลังจับจ่ายใช้สอย และส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าสหรัฐแข็งตัวขึ้นตามลำดับนั่นเอง
วิธีดูกราฟ S&P 500 เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเทรด มีดังนี้
1. ถือว่าเป็นตัวชี้วัดสถาพเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีผลโดยตรงกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ ดังนั้นถ้ากราฟขึ้นจะส่งผลให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งตัวขึ้น เทรดเดอร์ที่เทรดคู่เงินใดที่จับคู่กับ USD และอยู่ด้านหลัง ควรเทรดในแนวโน้มขาลง หรือหาคู่เงินที่มีปัจจัยที่ส่งผลให้กราฟเป็นขาลง
2. ถ้ากราฟ S&P 500 ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน นั่นแสดงว่าค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐยังไม่มีปัจจัยให้อ่อนค่า หรือแข็งค่าขึ้น เทรดเดอร์สามารถเทรดตามปัจจัยของสกุลเงินอื่น ๆ ที่จับคู่กับ USD ได้เลย
3. ให้ระวังความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการประกาศตัวเลขหรือข่าวทางเศรษฐกิจ และวิเคราะห์ว่าตัวเลขหรือข่าวนั้น จะส่งผลต่อ S&P 500 อย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจในการเทรด
4. เมื่อมีข่าวร้ายหรือข่าวดี เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นอาจจะเป็นข่าวปลอม และสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ได้เบื้องต้นได้นั้นก็คือ การดูกราฟ S&P 500 หรือดัชนีอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา เช่น ข่าวที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดสงคราม และกราฟไม่มีการเคลื่อนไหว นั่นแสดงว่านักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดไม่ให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และในทางกลับกันกราฟตอบสนองต่อข่าวที่เกิดขึ้น ก็ควรที่จะนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ว่า จะส่งผลระยะยาวหรือไม่ ส่งผลต่อค่าเงินอย่างไร และควรติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด
แม้เทรดเดอร์จะใช้วิธีการเทรดทางทิคนิค แต่การดูกราฟ S&P 500 ประกอบไปด้วย คือเสมือนว่าได้เช็คมุมมองของเทรดเดอร์สายปัจจัยพื้นฐาน เพราะการเทรดในแนวทางเดียวกันกับผู้คนส่วนใหญ่ในตลาด ยังไงก็ปลอดภัยกว่า และถ้าสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งปัจจัยพื้นฐานและทางเทคนิค เมื่อมีสัญญาณที่ส่งเสริมกัน การเทรดนั้นก็จะยิ่งเพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากมายเลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่นเมื่อเทรดเดอร์วิเคราะห์กราฟคู่เงิน EUR/USD แล้วมีแนวโน้มว่าจะขึ้น ในระหว่างเดียวกัน S&P 500 มีแนวโน้มเป็นขาลง นั่นก็คือว่าค่าเงิน USD มีโอกาสที่จะกำลังอ่อนตัวลง เสมือนเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่า EUR/USD มีความเป็นไปได้สูงที่จะกำลังขึ้น
แต่ในระหว่างเดียวกัน ถ้า S&P 500 เป็นแนวโน้มขาขึ้น นั่นก็คือว่า USD มีโอกาสที่จะแข็งตัวขึ้น เทรดเดอร์จึงควรระมัดระวังให้มากในการเทรดครั้งนี้ เพราะถือว่ามีความเสี่ยงอยู่พอสมควร
ดังนั้นการเทรดทุกครั้ง ไม่ว่าจะใช้ปัจจัยทางด้านเทคนิคหรือปัจจัยพื้นฐานก็ตาม ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจหรือข่าวต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อค่าเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจ และระมัดระวังในการเทรดที่เข้าถูกที่แต่ผิดเวลา หรือเข้าสวนกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม
S&P 500 คือ สิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงสภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ว่าในตลาดใดก็ตาม มักจะให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะจะส่งผลโดยตรงกับค่าเงิน นั่นก็คือว่าส่งผลต่อตลาด Forex ด้วยเช่นกัน เทรดเดอร์ในสายปัจจัยพื้นฐานจึงมักจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจ และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ ที่จะเป็นตัวควบคุมแนวโน้มหรือทิศทางของกราฟด้วยเช่นกัน
เพราะ S&P 500 คือ ไม่ใช่ดัชนีที่นักลงทุนในตลาดหุ้นสนใจเพียงเท่านั้น แต่นักลงทุนหรือเทรดเดอร์ในตลาด Forex ก็ให้ความสำคัญ ด้วยการดูข้อมูลจากตรงนี้ประกอบกันไป เพื่อเพิ่มความมั่นใจและเห็นโอกาสในการเข้าทำกำไร ดังนั้น ถ้าอยากเทรดให้ปลอดภัยหรือเห็นโอกาสทำกำไรมากขึ้น ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน และข้อมูลที่สำคัญ ๆ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของราคา มักจะมาจากข่าวหรือตัวเลขทางเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจโดยรวมด้วยนั่นเอง